สืบที่มาที่ไปฉายาทีมโซนเหนือ
แต่ละชื่อที่มีนั้นท่านได้แต่ใดมา
หลายคนอาจจะนึกสงสัยว่าที่มาที่ไปของการตั้งฉายาของแต่ละทีมนั้นมาจากใหน ซึ่งสำหรับทีมที่ร่วมแข่งขันในฤดูกาล 2011 ในปีนี้มีที่มาที่ไปหรือตั้งฉายามาจากอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละทีมนั้นก็มีที่มาด้วยประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ในอดีตของแต่ละจังหวัด ซึ่งมีอะไรบ้างและจะยิ่งใหญ่ขนาดไหน ติดตามชมได้เลยครับ
สุโขทัย เอฟซี
ค้างคาวไฟ
ประวัติสโมสร
สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุโขทัย ได้เริ่มก่อตั้งและส่งทีมแข่งขันในฟุตบอลลีกระดับประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งผลงานการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ครั้งแรกของทีมนั้นจบฤดูกาลด้วยทอันดับที่ 6 จากทีมที่เข้าร่วมฟาดแข้งทั้งสิ้น 11 ทีม โดยลงสนามทั้งสิ้น 20 นัด ชนะ 7 เสมอ 5 แพ้ 7 ยิงได้ 29 เสีย 28 ประตู มี 26 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่สโมสรวางเอาไว้ในเบื้องต้นที่ขอจบแค่กลางตารางการแข่งขัน
ขณะที่ในฤดูกาล 2553 ทางสุโขทัย เอฟซี ได้เริ่มเตรียมงานกันด้วยการสรุปแนวทางการทำงาน และค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาดำเนินการในซีซั่นหน้าออกมาเรียบร้อยแล้วทั้งหมด โดยได้มีการนำเอาแผนงานนี้ไปเสนอ มนู พุกประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย เพื่อขออนุมัติงบประมาณที่คาดว่าน่าจะได้รับประมาณ 2 ล้านบาท โดยที่ในปีหน้านั้นทางทีมสุโขทัย เอฟซี ก็จะยังคงใช้ทีมงานสตาฟฟ์ชุดเดิมที่มี "โค้ชหมัด" จรัญ สุริโย เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน
กับที่มาที่ไปของค้างคาวไฟนั้นหลายคนอาจจะนึกสงสัยว่าทำไมสุโขทัยจึงเลือกใช้ค้างคาวเป็นฉายา ทั้งที่สุโขทัยเองก็เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน แต่ที่มาของฉายาค้างคาวไฟนั้นก็เพราะว่าจังหวัดสุโขทัยมีถ้ำอยู่หลายแห่ง และมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกับ "ถ้ำเจ้าราม"ที่อยู่ในเขตอุทยานศรีสัชนาลัยนั้นมีค้างคาวอาศัยอยู่นับล้านตัว ซึ่งจากจำนวนที่มหาศาลของค้างคาวในถ้ำเจ้ารามแห่งนี้สุโขทัยก็หว้งรวบรวมกำลัง และความสามัคคีได้เหมือนกับค้างคาวจำนวนมาก และเพื่อให้ดูฮึกเหิมจึงใช้ชื่อว่าค้างคาวไฟ
และเป็นที่มาของฉายาค้างคาวไฟ
เชียงราย เอฟซี
แมงป่องไฟ,
แมงป่องมหากาฬ
ประวัติสโมสร
ย่างก้าวของความสำเร็จ เชียงราย ยูไนเต็ด ที่พาทีมขยับขึ้นไปเล่นดิวิชั่น 1 ด้วยการคว้ารองแชมป์ด.2 ได้ถือว่าเป็นอีกปฐมบทของทีมจากภูธร ที่เริ่มต้นได้ยอดเยี่ยมแค่ปีแรกเท่านั้นเอง แต่ในปีนี้ อีกหนึ่งความภาคภูมิใจจากจังหวัดเชียงราย พร้อมส่งลงดวลแข้งอีกทีม ในศึกฟุตบอลดิวิชั่น 2 ภูมิภาค อย่าง ทีมเชียงราย เอฟซี ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทีมที่น่าจับตามองอย่างมาก เพราะเป็นการรวมตัวของคนมีไฟ ที่หวังเห็นวงการฟุตบอลเชียงรายบูมฟุตบอลอย่างเต็มที่ โดยการนำของ นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ รับหน้าที่ประธานสโมสรเชียงราย เอฟซี พร้อมด้วย ผจก.ทีมอย่าง ดำรงค์ศักดิ์ ขวัญชัย, และที่ปรึกษาสโมสร เดช ใจกล้า ผอ.กกท.เชียงราย ฯลฯ ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการปลุกปั้นครั้งนี้ขึ้น
โดยเชียงราย เอฟซี จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ เชียงรายฟุตบอลคลับ จำกัด ที่ทำการสโมสรคือ เชียงรายฟุตบอลคลับ 72 หมู่ 19 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 หรือwww.chiangraifc.com และส.กีฬาจังหวัดเชียงราย สนามกีฬากลาง จ.เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โดยเชียงราย เอฟซี จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ เชียงรายฟุตบอลคลับ จำกัด ที่ทำการสโมสรคือ เชียงรายฟุตบอลคลับ 72 หมู่ 19 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 หรือwww.chiangraifc.com และส.กีฬาจังหวัดเชียงราย สนามกีฬากลาง จ.เชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
แมงป่องเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีพิษร้ายเพราะรูปร่างมีก้ามสองข้างเหมือนปู และมีหางที่มีพิษร้ายแรงชูแทงจากข้างหลัง สำหรับที่ชายแดนไทย-พม่าด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย บนดอยเวาเหนือตลาดแม่สายซึ่งเป็นจุดชมวิวที่ผู้คนนิยมขึ้นไปชมทิวทัศน์ของสองฝั่งประเทศเหนือสะพานแม่น้ำสาย กลับมีการสร้างเป็นแมงป่องสีดำทมิฬขนาดใหญ่หันหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งแมงเวาก็คือแมงป่องช้าง เป็นภาษาคนเหนือ เหตุที่สร้างขึ้นมาใหญ่โตไม่ใช่เพราะต้องการความโดดเด่นหรือเป็นจุดขายของชายแดน และไม่มีความหมายใดๆ แต่เป็นเพราะมีชื่อตามชื่อของ "ขุนควักเวา" หรือ "องค์เวา" เป็นกษัตริย์องค์ที่ 10 ของราชวงค์สิงหนวัติแห่งอาณาจักรนาคพันธุ์สิงหนวัติหรืออณาจักรเชียงแสนโบราณที่กินอาณาบริเวณกว้างไกลก่อนเข้าสู่ยุครัฐชาติ ซึ่งเมื่อ เชียงราย เอฟซี มีการจัดตั้งทีมขึ้นมาจึงเลือกใช้ฉายาแมงป่องไฟ เพื่อให้ดูดุดัน และเป็นสัตว์ร้ายสำหรับทีมอื่นๆ ที่พร้อมจะพ่นพิษใส่ทุกเวลา
รูปปั้นแมงป่องยักษ์บนดอยเวาเหนือตลาดแม่สาย จ.เชียงราย
สีดำทะมึนที่เด่นเป็นสง่า ที่สะดุดตานักเมื่อยามพบเห็น
กำเเพงเพชร เอฟซี
นักรบชากังราว
ประวัติสโมสร
หลังจากที่ทางสมาคมฟุตบอลฯ รวมถึงการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ผุดไอเดียในโครงการสร้างรากฐานทีมฟุตบอลอาชีพในระดับรากหญ้าอย่างลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ขึ้นมาเมื่อฤดูกาล 2009 ทางด้านทีมฟุตบอลจังหวัดกำแพงเพชรก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ด้วยการสร้างทีมฟุตบอลอาชีพขึ้นมาเพื่อร่วมสังฆกรรมทันที โดยมีแกนนำอย่าง "เศกสรรค์ ศิริพงษ์" อดีตผู้รักษาประตูชื่อดังเป็นหัวเรือใหญ่ของเรื่องนี้ ด้วยการใช้เด็กท้องถิ่นภายในจังหวัดกำแพงเพชรแทบจะยกชุดเลยก็ว่าได้ เพื่อตอบสนองนโยบายกับคำว่า "ท้องถิ่นนิยม" ให้ได้มากที่สุด ภายใต้ชื่อสโมสรฟุตบอลกำแพงเพชร เอฟซี
หลังจากที่ทางสมาคมฟุตบอลฯ รวมถึงการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ผุดไอเดียในโครงการสร้างรากฐานทีมฟุตบอลอาชีพในระดับรากหญ้าอย่างลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ขึ้นมาเมื่อฤดูกาล 2009 ทางด้านทีมฟุตบอลจังหวัดกำแพงเพชรก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ด้วยการสร้างทีมฟุตบอลอาชีพขึ้นมาเพื่อร่วมสังฆกรรมทันที โดยมีแกนนำอย่าง "เศกสรรค์ ศิริพงษ์" อดีตผู้รักษาประตูชื่อดังเป็นหัวเรือใหญ่ของเรื่องนี้ ด้วยการใช้เด็กท้องถิ่นภายในจังหวัดกำแพงเพชรแทบจะยกชุดเลยก็ว่าได้ เพื่อตอบสนองนโยบายกับคำว่า "ท้องถิ่นนิยม" ให้ได้มากที่สุด ภายใต้ชื่อสโมสรฟุตบอลกำแพงเพชร เอฟซี
จังหวัดกำเเพงเพชรเป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2549
ได้เปลี่ยนเมืองกำเเพงเป็นจังหวัดกำแพงเพชร ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่ากำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเดิมเรียกชื่อว่า "เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มี่หลักฐานให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม แต่ผู้คนส่วนมากมักจะรู้จักชื่อเดิมของกำแพงเพชรว่าเป็นเมืองชากังราวเก่า และในปัจจุบันก็ไม่มีสงครามดังเช่นในสมัยก่อน แต่กลับมีสงครามลูกหนังเกิดที่กำลังฟาดแข้งกันในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของนักรบชากังราว
เพชรบูรณ์ เอฟซี
นักสู้เมืองมะขามหวาน
ประวัติสโมสร
นักสู้เมืองมะขามหวาน
ประวัติสโมสร
การถือกำเนิดในรูปแบบสโมสรฟุตบอลอาชีพเพชรบูรณ์ เอฟซี นั้นก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อฤดูกาล 2009 โดยจบซีซั่นแรกกับการแข่งขันลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2009 กับอันดับที่ 5 ด้วยผลงานลงสนาม 20 นัดเก็บได้ถึง 30 คะแนน นับได้ว่าถือเป็นผลงานอันยอดเยี่ยม และในปี 2010 สโมสรได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งในส่วนของโลโก้, ระบบการเล่นต่างๆ ที่สำคัญนั้นคือตัวผู้เล่นภายในทีมที่เน้นเรื่องของความเป็นท้องถิ่นนิยมเพื่อเอาใจแฟนคลับมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในส่วนของโลโก้ที่นำตราสัญลักษณ์รูปพ่อขุนผาเมืองประดิษฐานอยู่ภายในเพชร ฐานล่างเป็นรูปฟุตบอลมีรัศมีเปร่งประกาย ประดับอยู่บนโล่สีเขียวมีมงกุฎพ่อขุนผาเมือง คือบุคคลสำคัญที่มีประวัติสำคัญกับเมืองเพชรบูรณ์ในอดีต “เพชร” คือความแข็งเกร่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนลูกฟุตบอลเป็นการประกาศศักดาเรื่องฟุตบอล ในส่วนของมงกุฎ แสดงถึงความสำเร็จยิ่งใหญ่ของสโมสร ขณะเดียวกันเป็นที่คาดกันว่างบประมาณในการสร้างทีมฟุตบอลอาชีพเพชรบูรณ์ เอฟซี ประจำฤดูกาล 2010 น่าจะตกอยู่ที่จำนวน 5 ล้านบาท โดยมาจากการกีฬาแห่งประเทศไทยจำนวน 1 ล้านบาท รวมถึงองค์การบริหารส่วจังหวัดเพชรบูรณ์, ป้ายโฆษณาต่างๆ, สปอนเซอร์ที่จะเข้ามาสนับสนุนทีม
มะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์นับว่าเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจที่สร้างชื่อเสียงให้กับทางจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นอย่างมาก และนับว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดสำหรับมะขามหวานพันธุ์ต่างๆ ที่มีหลากหลายและนับว่าเห็นจุดขายของจังหวัดเพชรบูรณ์ การถือกำเนิดในรูปแบบสโมสรฟุตบอลอาชีพเพชรบูรณ์ เอฟซี นั้นก็ต้องถือว่าพวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาอย่างเป็นทางการเมื่อฤดูกาล 2009 ที่ผ่านมาเพชรบูรณ์ เอฟซี ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร โดยเฉพาะในส่วนของโลโก้ที่นำตรารูปพ่อขุนผาเมืองประดิษฐานอยูภายในเพชร ฐานล่างเป็นรูปฟุตบาลมีรัศมีเปร่างประกายประดับอยู่บนโล่สีเขียวมีวงกุฎพ่อขุนผาเมืองคือบุคคลสำคัญที่มีประวัติศาสาตร์สำคัญกับเมืองเพชรบูรณ์ในอดีต แต่เพื่อให้เป็นที่จดจำได้โดยง่าย ฉายาของเพชรบูรณ์ เอฟซี จึงดึงเอาคำว่านักสู้เมืองมะขามหวาน อันเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็นฉายาทีม
ขุนพลนเรศวร
ประวัติสโมสร
พ.ศ. 2547-48
พ.ศ. 2547-48
สโมสรฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลก ในอดีตที่ผ่านมามีหลายรุ่นมากมายที่พลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าร่วมการแข่งขันในนามตัวแทนจังหวัดพิษณุโลกทั้งยามาฮ่าไทยแลนด์คัพการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น จนกระทั่งในปี 2547-2548 ทีมพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น2 โดยมี พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว เป็นผู้ก่อตั้งและควบคุมทีมในขณะนั้น โดยในครั้งนี้ ทีมจังหวัดพิษณุโลก สามารถทำผลงานอยู่ที่อันดับรองชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น2 รอบคัดเลือกโซนภาคเหนือ มาได้หลังจากที่ในนัดชิงชนะเลิศต้องพ่ายให้กับ ทีมจังหวัดเชียงใหม่ ไป 0-1 ที่จังหวัดพิจิตรเป็นเจ้าภาพ แต่ยังได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายการแข่งขันฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น2 ระดับประเทศ ที่จังหวัดสกลนคร และสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศมาครองได้ โดยการเบียดชนะเจ้าภาพอย่างทีมจังหวัดสกลนคร มาได้ 1-0 ซึ่งส่งผลให้ทีมจังหวัดพิษณุโลก ได้โควต้าขึ้นมาเล่น ฟุตบอลโปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 1 ในปีถัดมา
[แก้] พ.ศ. 2549
ปี 2549 ทีมฟุตบอลจังหวัดพิษณุโลกได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล ไทยแลนด์โปรวิลเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ซึ่งถือว่าเป็นลีกสูงสุดที่มีการกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแข่งขัน โดยในปีนี้เองดูเหมือนจะเป็นการชิมลางการ รวมลีกการแข่งขันของ 2 ลีกที่มาจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย กับ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งการแข่งขันฟุตบอล ไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 ประจำปี 2549 ได้ดึงแชมป์และรองแชมป์ของปีก่อนหน้านี้ อย่างทีมจังหวัดชลบุรี กับ ทีมจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นไปเล่นในระดับ ไทยแลนด์ลีกสูงสุด และส่งทีมอย่าง ทีโอที กับ การท่าเรือฯ ในชุดที่ถือว่าเป็นชุด บี เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล ไทยแลนด์โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น1 อีกด้วย แล้วในปีนี้ได้มีกฏให้ทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องมี ตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร แล้วทีมจังหวัดพิษณุโลก จึงได้มี ตราสัญลักษณ์ประจำสโมสรเป็นครั้งแรก และใช้สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นสนามเหย้า ซึ่งทีมจังหวัดพิษณุโลก ทำผลงานจบลงด้วยอันดับที่ 6
[แก้] พ.ศ. 2550
ปี 2550 ทีมจังหวัดพิษณุโลก ได้จดทะเบียนในนาม บริษัทนิติบุคคล เป็น สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก หรือ PHITSANULOK FOOTBALL CLUB โดยมี พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว เป็นประธานสโมสร ซึ่งในปีนี้ได้มีการรวมลีกการแข่งขันอย่างเป็นทางการของ การกีฬาแห่งประเทศไทยกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก ได้เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชั่น 1 ประจำปี 2550 สาย บี โดยมี ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก เป็นลีกสูงสุด แต่ก่อนจะเปิดฤดูกาล สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก เกือบได้รับโอกาสเข้าไปเพลย์ออฟ เพื่อหาอีก 1 ทีม เพื่อขึ้นไปเล่นไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก แต่ได้ข้อสรุปให้เป็น ทีมจังหวัดนครปฐม (นครปฐม ฮันเตอร์ เอฟซี) ทีมอันดับ 3 จากปีก่อน ขึ้นไปเล่นในท้ายที่สุด ในช่วงครึ่งฤดูกาลแรก สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีโอกาสที่จะเบียดแย่งตำแหน่งแชมป์กลุ่มกับทีมฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ต้องไปพ่ายที่บ้านของจุฬาลงกรณ์ 3-0 จึงมีโอกาสเพียงแค่ทำอันดับสูงสุดเป็นสถิติอยู่ที่ อันดับ 2 ของการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชั่น 1 ประจำปี 2550 สาย บี และในเลกที่ 2 นี่เอง สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก ประสบปัญหาเรื่องการเงิน ทำให้ผลงานของทีมเริ่มตกลงมา จนต้องหนีการตกชั้นเพราะในปีนี้จะมีทีมที่ต้องตกชั้นถึงสายละ 5 ทีม แต่สุดท้ายด้วยการบริหารของ พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว ที่พยายามประคองทีมให้อยู่รอด จนคว้าอันดับที่ 5 ของสายบี รอดพ้นการตกชั้นที่ต้องลุ้นกันจนถึงนัดสุดท้ายโดยการชนะทีมอย่าง ฉะเชิงเทรา เอฟซี ไป 7-0 โดยใช้สนามกีฬาพระองค์ดำ ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว เป็นสนามเหย้า[แก้] พ.ศ. 2551
ปี 2551 ทีมสโมสรฟุตบอลพิษณุโลก ยังได้สิทธิ์ในการ เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลไทยแลนด์ดิวิชั่น 1 ประจำปี 2551 อีกครั้ง ซึ่งยังได้มีการเปลี่ยน ตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร แต่ยังมีปัญหาทางการเงินติดตามมาจากปีก่อน จึงทำให้ต้องเสียผู้เล่นหลายคนออกจากทีมไป ส่งผลให้ทำผลงานได้อย่างตกต่ำอยู่ที่อันดับที่ 16 จากทั้งหมด 16 ทีม ต้องตกชั้นไปเล่นใน ดิวิชั่น 2 ในปีถัดไป ส่วนสนามที่ใช่แข่งขันนั้นยังเป็น สนามกีฬาพระองค์ดำ ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว เป็นสนามเหย้า ในเลกแรก แล้วในเลกที่ 2จึงได้ย้ายกลับมาใช้ สนามกีฬา อบจ.พิษณุโลก (สนามกีฬากลางเดิม) เป็นสนามเหย้า[แก้] พ.ศ. 2552
ปี 2552 สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก ยังมีโอกาสที่จะหนีรอดการตกชั้นเพื่อที่จะหาทีมไปเล่นแทนสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ ที่ต้องยุบตัวลงไป ด้วยการต้องไปเพลย์ออฟ กับอีก 3 ทีม คือ สโมสรฟุตบอลราชวิถี สโมสรฟุตบอลฮอนด้า และ สมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ แต่สุดท้ายต้องพ่ายให้กับ ทีมสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ไป 1-2 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิจิตร ทำให้ต้องมาเล่นใน ดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ อย่างแน่นอนแล้ว โดยผลงานในปีนี้ สโมสรฟุตบอลพิษณุโลก ทำผลงานได้ไม่ดีนักจนทำให้ พล.ท.พิพัฒน์ เด็ดแก้ว ต้องวางมือให้กลุ่มผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาทำทีมแทน แต่สุดท้ายจบที่อันดับ 6 ของตารางลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ
คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จักกับเมืองพิษณุโลกสองแควที่ในอดีตถิ่นกำเนิดของนักรบผู้ยิ่งใหญ่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่กอบกู้อิสรภาพกลับมาสู่สยามประเทศ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาโดนตีแตกไป ซึ่งพระนเรศวรในวัยเยาว์แม้ว่าจะถูกจับเป็นองค์ประกันแต่ก็มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวมีน้ำพระทัยกว้างขวาง สมกับที่เป็นเชื้อสายของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ครั้งที่อยู่ในเมืองพม่าก็ได้แสดงพระปรีชาสามารถให้ปรากฎหลายต่อหลายครั้ง ทำให้พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ารู้สึกหวาดหวั่น เกรงว่าต่อไปภายหน้าอาจคิดกู้ชาติไทย แล้วก็เป็นจริงหลังจากที่ซ่องสุมขุนพลได้เป็นจำนวนมากก็เริ่มทวงเอกราชกลับสู่ชาติไทยได้ และเพื่อเป็นการระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของพระนเรศวรลูกหลานชาวเมืองพิษณุโลกก็เหมือนเป็นลูกเป็นหลานเป็นขุนพลของพระนเรศวร และพร้อมจะประกาศความยิ่งใหญ่ในโลกของฟุตบอลต่อไป
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงช้างยุทธหัตถี
อุตรดิตถ์ หมอเส็ง
ดาบหักพิฆาต
ประวัติสโมสร
สโมสรฟุตบอลอุตรดิตถ์เอฟซี เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2552 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพลีกภูมิภาค "ดิวิชั่น 2" ฤดูกาล 2552 เป็นฤดูกาลแรกที่จะแบ่งการแข่งขันเป็น 5 ลีกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อความสะดวกในการเดินทางแข่งขันของแต่ละสโมสร และเป็นการกระจายการแข่งขันฟุตบอลไปทั่วประเทศ โดยจะคัดเลือกทีมชนะเลิศของแต่ละภาค และรองชนะเลิศ ของลีกกรุงเทพฯ เพื่อให้ได้ 6 สโมสร มาแข่งในระบบ ลีกอีกครั้ง โดยอันดับ 1-3 จะได้เลื่อนชั้นไปสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1
สโมสรฟุตบอลจังหวัดอุตรดิตถ์สร้างผลงานในปี 2552 ด้วยการคว้าอันดับ 4 ของโซนภาคเหนือไปครองหลังจากจบฤดูกาลสำหรับทีม "ไก่พาลี" อุตรดิตถ์ เอฟซี ซึ่งถือเป็นผลงานที่ไม่ธรรมดาสำหรับการส่งทีมเข้าประกวดในปีแรก และจากนี้ทีมก็ได้มีการเตรียมตัวเพื่อที่จะลงแข่งขันในฤดูกาลที่จะมาถึงนี้เป็นอย่างดี โดยทีมได้เริ่มมีการฝึกซ้อมกันมาเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ และจัดโปรแกรมอุ่นเครื่องอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการทดสอบตัวนักเตะ และเฟ้นหานักเตะในชุด 11 คนแรก ซึ่งในวันนี้ (10 ม.ค. 53) ก็เป็นการลงอุ่นเครื่องในนัดแรกกับทีมแพร่ ซึ่งผลปรากฏว่าทีมอุตรดิตถ์เอาชนะไปได้ 1-0 ในปีนี้ทีมได้มีการปรับเปลี่ยนเฮดโค้ชใหม่คือโค้ช สุรพล ธาตุระหัน ซึ่งอดีตเป็นอาจารย์สอนฟุตบอลที่กรุงเทพมหานคร ในปีนี้ได้เข้ามาช่วยคุมทีมอุตรดิตถ์ ส่วนทีมงานสตาฟฟ์ยังคงใช้ชุดเดิมและมี อดิเทพ อยู่สวัสดิ์ เป็นผู้ช่วย
ส่วนในปีนี้ประธานสโมสรยังคงเป็น พีระศักดิ์ พอจิตร นายกอบจ.อุตรดิตถ์ ผู้จัดการทีมเปลี่ยนเป็น สำราญ เอื้อจิระวาณิชย์ นายกเทศบาลตำบลหัวดง ซึ่งงบประมาณในปีนี้คาดว่าจะมีประมาณ 3.5 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจาก อบจ.อุตรดิตถ์ และสปอนเซอร์ต่างๆ ภายในจังหวัด ซึ่งในขณะนี้ทั้งในส่วนของภาครัฐ และเอกชนก็เริ่มที่จะเห็นความสำคัญของกีฬาภายในจังหวัดอุตรดิตถ์ และให้การสนับสนุนทีมฟุตบอลอุตรดิตถ์กันเป็นอย่างดี คาดว่างบประมาณในปีนี้ถ้าหากได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีงบประมาณก็น่าที่จะเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย
สนามเหย้าในปีนี้ยังคงใช้สนามของอบจ.อุตรดิตถ์เหมือนเดิม และมีการปรับปรุงเล็กน้อยในส่วนของการติดระบบเครื่องเสียง และติดเครื่องปรับอากาศในห้องพักนักกีฬา และห้องฟักผู้ตัดสิน ซึ่งในส่วนนี้ได้รับงบประมาณจากอบจ.สนับสนุนแต่ในช่วงต้นปี 54 สนามแห่งนี้น่าจะถูกใช้เป็นสนามในการจัดการแข่งขันกีฬาจังหวัดทีมอุตรดิตถ์จึงหาทางออกด้วยการเตรียมสนามสำรองไว้ 2 สนาม ซึ่งสนามแรกจะเป็นสนามในราชภัฏอุตรดิตถ์ และสนามกีฬาเทศบาลหัวดง ถ้าหากสนามไหนได้มาตรฐานกว่าก็จะใช้สนามนั้นเป็นสนามเหย้าชั่วคราวไปก่อนหลังจากแข่งขันกีฬาเสร็จจึงกลับมาใช้สนามอบจ.อุตรดิตถ์อย่างเดิม
สโมสรฟุตบอลจังหวัดอุตรดิตถ์สร้างผลงานในปี 2552 ด้วยการคว้าอันดับ 4 ของโซนภาคเหนือไปครองหลังจากจบฤดูกาลสำหรับทีม "ไก่พาลี" อุตรดิตถ์ เอฟซี ซึ่งถือเป็นผลงานที่ไม่ธรรมดาสำหรับการส่งทีมเข้าประกวดในปีแรก และจากนี้ทีมก็ได้มีการเตรียมตัวเพื่อที่จะลงแข่งขันในฤดูกาลที่จะมาถึงนี้เป็นอย่างดี โดยทีมได้เริ่มมีการฝึกซ้อมกันมาเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ และจัดโปรแกรมอุ่นเครื่องอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการทดสอบตัวนักเตะ และเฟ้นหานักเตะในชุด 11 คนแรก ซึ่งในวันนี้ (10 ม.ค. 53) ก็เป็นการลงอุ่นเครื่องในนัดแรกกับทีมแพร่ ซึ่งผลปรากฏว่าทีมอุตรดิตถ์เอาชนะไปได้ 1-0 ในปีนี้ทีมได้มีการปรับเปลี่ยนเฮดโค้ชใหม่คือโค้ช สุรพล ธาตุระหัน ซึ่งอดีตเป็นอาจารย์สอนฟุตบอลที่กรุงเทพมหานคร ในปีนี้ได้เข้ามาช่วยคุมทีมอุตรดิตถ์ ส่วนทีมงานสตาฟฟ์ยังคงใช้ชุดเดิมและมี อดิเทพ อยู่สวัสดิ์ เป็นผู้ช่วย
ส่วนในปีนี้ประธานสโมสรยังคงเป็น พีระศักดิ์ พอจิตร นายกอบจ.อุตรดิตถ์ ผู้จัดการทีมเปลี่ยนเป็น สำราญ เอื้อจิระวาณิชย์ นายกเทศบาลตำบลหัวดง ซึ่งงบประมาณในปีนี้คาดว่าจะมีประมาณ 3.5 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจาก อบจ.อุตรดิตถ์ และสปอนเซอร์ต่างๆ ภายในจังหวัด ซึ่งในขณะนี้ทั้งในส่วนของภาครัฐ และเอกชนก็เริ่มที่จะเห็นความสำคัญของกีฬาภายในจังหวัดอุตรดิตถ์ และให้การสนับสนุนทีมฟุตบอลอุตรดิตถ์กันเป็นอย่างดี คาดว่างบประมาณในปีนี้ถ้าหากได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีงบประมาณก็น่าที่จะเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย
สนามเหย้าในปีนี้ยังคงใช้สนามของอบจ.อุตรดิตถ์เหมือนเดิม และมีการปรับปรุงเล็กน้อยในส่วนของการติดระบบเครื่องเสียง และติดเครื่องปรับอากาศในห้องพักนักกีฬา และห้องฟักผู้ตัดสิน ซึ่งในส่วนนี้ได้รับงบประมาณจากอบจ.สนับสนุนแต่ในช่วงต้นปี 54 สนามแห่งนี้น่าจะถูกใช้เป็นสนามในการจัดการแข่งขันกีฬาจังหวัดทีมอุตรดิตถ์จึงหาทางออกด้วยการเตรียมสนามสำรองไว้ 2 สนาม ซึ่งสนามแรกจะเป็นสนามในราชภัฏอุตรดิตถ์ และสนามกีฬาเทศบาลหัวดง ถ้าหากสนามไหนได้มาตรฐานกว่าก็จะใช้สนามนั้นเป็นสนามเหย้าชั่วคราวไปก่อนหลังจากแข่งขันกีฬาเสร็จจึงกลับมาใช้สนามอบจ.อุตรดิตถ์อย่างเดิม
เมืองอุตรดิตถ์นั้นเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของขุนพลข้างกายผู้ยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งชื่อเดิมนั้นคือจ้อยหรือนายทองดี ฟันขาว ก่อนเข้ารับใช้พระเจ้าตากจนได้รับยศเป็นขุนพิชัยอาสา ร่วมกันต่อสู้ขับไล่ทัพพม่าร่วมกับพระเจ้าตากจนได้รับชัยชนะ และทวงอิสรภาพจากทัพพม่าจนได้กรุงศรีอยุธยากลับมา หลังจากนั้นจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก อันเป็นที่สักการะ
กราบไหว้ของชาวเมืองอุตรดิตถ์
ตาก เอฟซี
นักรบพระเจ้าตาก
ประวัติสโมสร
สโมสรฟุตบอลจังหวัดตากเริ่มก่อตั้งอย่างเป็นจริงเป็นจังในรูปแบบสโมสรฟุตบอลอาชีพขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยใช้ชื่อว่า “ตาก เอฟซี” ซึ่งแต่เดิมนั้น “ตาก เอฟซี” มีชื่อเดิมว่า “ยอดดอยเก่า” เป็นสโมสรที่โด่งดังเป็นอย่างยิ่งในการแข่งขันฟุตบอลรายการต่างๆ ประจำโซนภาคเหนือ เดิมเป็นสโมสรท้องถิ่นเล็กๆ ในจังหวัดตากที่ตั้งซอย 21 ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก โดยส่งทีมลงเล่นในโซนภาคเหนือหลายจังหวัดแต่ไม่ได้ส่งแข่งถ้วยพระราชทาน นักฟุตบอลส่วนใหญ่ที่มาเล่นก็จะเป็นเด็กในท้องถิ่นจนกระทั่งสามารถสร้างชื่อเติบโตและได้ไปเล่นให้ทีมสโมสรใหญ่ๆ ในอดีต อย่าง การท่าเรือฯ, ธ.กสิกรไทย,ชลบุรี, การไฟฟ้าฯ ไม่ว่าจะเป็น สุชิน พันธ์ประภาส, ไพบูลย์ เลิศวิมลรัตน์ รวมถึง อ่อง ตัน ตัน (ซูเปอร์สตาร์ทีมชาติพม่า) ฯลฯ โดยส่วนใหญ่แล้วนักเตะภายในทีมจะถูกป้อนเข้าสู่ทีมสโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในระดับเยาวชนก็จะเล่นให้กับร.ร.อัสสัมชัญศรีราชา จนกระทั่งการกีฬาแห่งประเทศไทยร่วมมือกับสมาคมฟุตบอลฯ จัดการแข่งขันลีกอาชีพโดยเน้นไปที่ท้องถิ่นนิยมขึ้นมามีชื่อว่า “ลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2” ก็ทำให้มีสโมสรฟุตบอลจังหวัดตากเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ในสมัยที่ประเทศไทยโดนทัพพม่าบุกมาตีเมืองกรุงศรีอยุธยาจนแตกพ่ายเป็นครั้งที่สอง หรือที่เรียกกันว่าการเสียกรุงศรีครั้งที่สองนั้น คนที่รวบรวมขุนพลจากหัวเมืองต่างๆ กลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง เดิมชื่อว่าสิน หลังจากสร้างความดีความชอบมากมาย สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการอยู่กับพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน หลังจากนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาโดนโจมตีจึงโดนเรียกกลับมาช่วยป้องกันเมืองจนได้รับความดีความชอบให้ไปสำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรต่อ แต่ทัพพม่าก็ยังคงรุกรานต่อจนตีกรุงศรีอยุธยาแตก เจ้าตากได้รวบรวมขุนพลจากหัวเมืองต่างๆ ร่วมกันตีทัพพม่าจนสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ แต่ก็ยากที่จะบูรณะจึงงย้ายเมืองหลวงมาอยู่กรุงธนบุรี และเจ้าตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรีทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนายพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งชื่อของพระเจ้าตากสินยังเป็นที่เคารพนับถือของเมืองตาก ดังนั้นจึงตั้งฉายาเป็นขุนพลทหารเสือของพระเจ้าตากหรือที่ตาก เอฟซี จะใช้ชื่อว่าทหารเสือพระเจ้าตากนั้นเอง
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ที่นอกจากชาวตากแล้วยังเป็นที่เคารพบูชายิ่ง
ของชาวไทยทั้งปวง เมื่อตากตั้งเป็นทีมฟุตบอล
แล้วจึงใช้ฉายาเป็นทหารเสือของพระเจ้าตาก
สิงห์บุรี เอฟซี
นักรบบางระจัน
หมู่บ้านบางระจันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชาวเมืองสิงห์บุรีหนีทัพพม่าเข้ามาหลบภัยก่อนที่จะใช้เป็นทางผ่านในการบุกไปตีกรุงศรีอยุธยา แต่ชาวบ้านบางระจันแม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ก็รวมตัวกันต่อสู้กับทัพพม่าและต้านทานความแข็งแกร่งของทัพพม่าและตึทัพของพม่าจนแตกยับกลับออกไปได้ถึง 7 ครั้ง จนได้ชื่อว่า "เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น" ก่อนที่ครั้งที่ 8 พม่าจะยกทัพใหญ่มาตีอีกครั้ง พร้อมกับนำปืนใหญ่มายิงเข้าใส่จนชาวบ้านล้มตายไปมาก หลังจากนั้นชาวบ้านจึงส่งสารขอปืนใหญ่จากทัพกรุงศรีฯ แต่ก็ไม่ได่รับปืนกลับมา พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยจึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อเป็นปืนขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนใหญ่ทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้นฝึมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ และเพื่อเป็นการสดุดีถึงวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน จึงมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี ดังนั้นกับฉายานักรบบางระจันจึงนับว่าเหมาะที่สุดที่จะสร้างความฮึกเหิมให้กับทัพของ สิงห์บุรี เอฟซี ในการต่อสู้ในโลกของฟุตบอล
นักรบชาวบ้านบางระจัน เคยสร้างชื่อตีทัพพม่า
จนแตกพ่ายกลับไปนับครั้งไม่ถ้วน จนเคยมีการ
ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อให้กลับคนไทย
มาแล้ว และยังเป็นที่ภูมิใจของชาวสิงห์บุรียิ่งนัก